Search
Close this search box.

ประวัติโรงเรียนโรงเรียนทุ่งศรีอุดม

ประวัติโดยย่อ

โรงเรียนทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ตั้งอยู่เลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 
มีเนื้อที่ 35  ไร่  56 ตารางวา เดิมก่อตั้งเป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา
โดยได้แต่งตั้ง นายสมผล ภาดี ทำหน้าที่ผู้ประสานงานในขณะนั้น
ปีการศึกษา 2536 นายสมจิตร บุตรทองทิม ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมราชวงศา
จังหวัดอำนาจเจริญ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี
ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนทุ่งศรีอุดม
ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา ได้แต่งตั้ง นายประถมชัย ทุมเมฆ
ตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 6 ปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานแทน นายสมผล ภาดี
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นโรงเรียนรัฐบาล

มีเขตพื้นที่บริการ 5 ตำบล ได้แก่
– ตำบลโคกชำแระ
– ตำบลหนองอ้ม
– ตำบลนาเกษม
– ตำบลนาห่อม
– ตำบลกุดเรือ

Vision

วิสัยทัศน์

“นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ใช้เทคโนโลยี มีนวัตกรรม
น้อมนำหลัปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียง เคียงคู่การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ”

Mission

พันธกิจ

1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของ คนไทย 12 ประการ
3. ส่งเสริม พัฒนาให้ครูสร้างนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และบริการแหล่งเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
4. เสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของบุคลากรภายในองค์กร และผู้เรียนอย่างมี ประสิทธิภาพ
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาและบูรณาการการจัดการศึกษา

Goal

เป้าหมาย

นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง รวมทั้งได้รับการพัฒนาศักยภาพ
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

Core Values

ค่านิยมหลัก

Thainess : ผู้เรียนดํารงตนบนพื้นฐานความเป็นไทย
Technology : ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
Teamwork : ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมในการทํางานจากทุกภาคส่วน ร่วมกันเป็นทีม
Standard School : เป็นโรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล
Sufficiency Economy : การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต
Learning Innovation : ครูนํานวัตกรรมมาใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้

Scroll to Top